https://info.tvinsure.com/wp-content/uploads/2022/07/TV-Insure-Logo-04-320x87.png
FAQ - TVinsure

คำถามที่พบบ่อย
Frequently asked questions

TVinsure ได้รวมรวมคำถามต่าง ๆ ที่ทางลูกค้าและตัวแทนของเราได้ถามมาเพื่อจัดหมวดหมู่ให้ผู้ที่สนใจสามารถอ่านข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นหมวดหลัก ๆ ดังนี้

คำถามเกี่ยวกับการประกันภัยทั่วไป

TVinsure Web Application คืออะไร?

Web Application เฉพาะของบริษัท ทวีทรัพย์โปรคเกอร์ จำกัด ที่ใช้ในการขายประกันภัยและเปรียบเทียบราคาออนไลน์ ซึ่งสมาชิกสามารถค้นหา เปรียบเทียบ ได้หลากหลายจากบริษัทประกัน ทั้งเปรียบเทียบราคาเบี้ยประกันจากยี่ห้อรถ รุ่นรถ ฯลฯ พร้อมแจ้งงานและเช็คสถานะงานต่าง ๆ ได้เลยไม่ว่าจะเป็นสถานะกรมธรรม์ สถานะการจ่ายเงิน เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระบบบริหารงานประกันภัยสำหรับตัวแทน

ประกันภัยรถยนต์ มีประเภทอะไรบ้าง ?

ประกันรถยนต์หลักที่ขายอยู่ในปัจจุบันได้แก่

  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3
  • พ.ร.บ. รถยนต์
  • ประกันภัยรถจักรยานยนต์
ประกันโคโรนาไวรัสที่เราขายอะไรบ้าง ?

รวมประกันภัยโควิด-19 เลือกซื้อได้เลยตอนนี้
ทุกแบบมีระยะเวลารอคอย 14 วัน

>>แบบ เจอ จ่าย จบ<<
อาคเนย์ แผน 1(260฿) : ตรวจเจอรับเงิน 50,000
อาคเนย์ แผน 2(519฿) : ตรวจเจอรับเงิน 100,000
อาคเนย์ แผน 3(778฿) : ตรวจเจอรับเงิน 150,000
อาคเนย์ แผน 4(1,037฿) : ตรวจเจอรับเงิน 200,000
เอเชีย (500฿) : ตรวจเจอรับเงิน 50,000 โคม่า 500,000 ชดเชย 1,000 ( 50 วัน สูงสุด 50,000฿)

>>แบบ เจอ จ่าย แต่ไม่จบ<<
วิริยะ (549฿) : ตรวจเจอรับเงิน 10,000 ค่ารักษา 30,000 โคม่า 300,000 ชดเชย 500 (14 วัน สูงสุด 7,000฿)
ทิพยะ แผน 1(450฿) : ค่ารักษา 50,000 โคม่า 500,000
ทิพยะ แผน 2(850฿) : ค่ารักษา 100,000 โคม่า 1,000,000

สามารถเปรียบเทียบราคาและสั่งซื้อได้ที่ ประกันภัยโคโรนาไวรัส

ข้อมูลวันที่ (24/12/2563)

ซ่อมอู่ ซ่อมห้าง ต่างกันอย่างไร ?

สำหรับคนที่ซื้อประกันภัยรถยนต์สามารถเลือกได้ว่าต้องการ ซ่อมอู่ หรือซ่อมห้าง ที่เหมาะกับผู้ซื้อมากที่สุด ซึ่งทั้ง 2 ประเภท มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ลองมาเปรียบเทียบกันว่าคุณต้องการแบบไหน ?

ซ่อมอู่ คือ ซ่อมอู่ธรรมดาทั่วไป ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

  1. อู่ในเครือบริษัทประกัน คืออู่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากบริษัทประกันที่ทำไว้ เวลาเรานำรถไปซ่อม หรือไปเคลมประกัน ก็สามารถนำรถเข้าไปซ่อมได้เลย และเมื่อซ่อมเสร็จก็นำรถออกมาได้ทันที โดย “ไม่ต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน” หรือเสียเงินเพิ่มเติม ในกรณีที่ไม่ได้ซ่อมนอกเหนือจากที่ตกลงกับบริษัทประกันเอาไว้
  2. อู่นอกเครือบริษัทประกัน คืออู่ที่ไม่ได้อยู่ในการรับรองของบริษัทประกันที่ทำไว้ ซึ่งอาจเป็นอู่ซ่อมรถใกล้บ้านผู้ขับขี่ หรือเป็นอู่ที่ผู้ขับขี่ประสงค์จะนำเข้าซ่อมเองหรือเป็นอู่ที่มีคนแนะนำว่าทำดี ฯลฯ ในกรณีซ่อมอู่ที่อยู่นอกเครือประกันแบบนี้ ผู้เอาประกันจะต้อง “สำรองเงินจ่ายไปก่อน” จากนั้นจึงนำใบเสร็จไปเบิกกับบริษัทประกันภายหลัง

    ข้อดีสำหรับการซ่อมอู่

  • ค่าเบี้ยประกันรถถูกกว่าซ่อมห้าง
  • ราคาค่าซ่อมสามารถต่อรองได้ง่ายกว่าศูนย์บริการ
  • มีอู่ให้เลือกมากมาย ทั้งอู่ใกล้บ้านหรืออู่ที่มีคนแนะนำ
  • ระยะเวลาในการซ่อมไม่นานเท่าซ่อมห้าง

    ข้อเสียสำหรับการซ่อมอู่

  • อะไหล่ที่ใช้อาจไม่ใช่ของแท้ และบางครั้งอาจนำอะไหล่เก่ามาเปลี่ยนให้
  • งานซ่อมอาจออกมาไม่ดี ไม่เนี้ยบ ไม่สวย ไม่สมบูรณ์
  • หากเกิดปัญหาหลังซ่อม บางอู่อาจไม่รับผิดชอบหรือแก้ไขให้
  • อาจโดนโกงเรื่องค่าอะไหล่ และค่าแรงที่ถูกคิดเงินเกินจริง

ซ่อมห้าง คือ การซ่อมที่ศูนย์บริการรถยนต์ตามยี่ห้อของผู้ขับขี่ ซึ่งโดยปกติมักจะต้องนำไปซ่อมศูนย์ฯ ที่ผู้ขับขี่ออกรถมา สรุปง่ายๆ คือซื้อที่ไหนก็ซ่อมที่นั่น หรืออาจเป็นศูนย์อื่นที่สะดวกกว่าศูนย์ที่ออกรถมาก็ได้แต่เป็นของ ยี่ห้อที่ผู้ขับขี่ขับ ที่เรียกกันว่าซ่อมห้างนั้น เพราะศูนย์บริการทั่วไปมักจดทะเบียนเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด เรียกสั้นๆ ว่า “ซ่อมห้าง” นั่นเอง

ข้อดี สำหรับการซ่อมห้าง

  • มีอะไหล่แท้ไว้รองรับ พร้อมซ่อมได้ทันที
  • มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แยกกันทำงานอย่างชัดเจน เช่น ช่างซ่อมเครื่องยนต์, ช่างซ่อมช่วงล่าง ฯลฯ
  • รับประกันงานซ่อม หากมีปัญหาในระยะเวลารับประกัน
  • การซ่อมออกมามีมาตรฐาน

ข้อเสีย สำหรับการซ่อมห้าง

  • ราคาเบี้ยประกันสูงกว่าซ่อมอู่
  • ราคาแพงกว่าซ่อมอู่ เพราะมีค่าภาษี และค่าแรงที่สูงกว่า หรือมีส่วนต่างอื่นๆ เพิ่มเติม
  • อะไหล่บางอย่างไม่เสีย แต่ก็จับเปลี่ยน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
  • ใช้เวลาในการซ่อมนาน เนื่องจากต้องรอคิวเข้าซ่อม และบางครั้งระยะเวลาในการซ่อมไม่แน่นอน
  • บางจังหวัดอาจไม่มีศูนย์บริการยี่ห้อรถที่เราใช้

คำถามเกี่ยวกับฝ่ายการเงินและบัญชี

ช่องทางชำระเงิน

สามารถชำระเงินได้หลายช่องทาง ทั้งในกรณีที่ต้องการชำระเงินด้วยตนเอง สามารถชำระได้ ณ เคาว์เตอร์ บริษัท ทวีทรัพย์โบรคเกอร์ จำกัด และสามารถชำระเงินด้วยวิธีอื่น เช่น เช็ค, เงินโอน และแบบตัดบัตรเครดิต โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) เช็ค/เงินโอน เข้าบัญชี :

    • ชื่อบัญชี : บริษัท ทวีทรัพย์โบรคเกอร์ จำกัด
      • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เลขบัญชี 125-9-43316-9 (ออมทรัพย์)
      • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เลขบัญชี 170-0-57907-9 (ออมทรัพย์)

2) ระบบตัดบัตรเครดิต ซึ่งจะมีแบบฟอร์มกรอกเพื่อตัดบัตรเครดิตของแต่ละบริษัทประกัน แต่ชื่อผู้ที่ต้องการตัดบัตรเครดิตต้องตรงตามกรมธรรม์ หากต้องการขอแบบฟอร์มตัดบัตรเครดิต ท่านสามารถสอบถามทีมงาน TVinsure เข้ามาได้เลยผ่านไลน์ @tvinsure หรือเบอร์โทรศัพท์ 0-2266-373-1 ถึง 5

จ่ายค่าคอมให้ตัวแทนวันไหนบ้าง ?

ทางบริษัทจะทำการจ่ายค่านายหน้า(Commission) ให้ตัวแทนทุกๆวันที่ 2, 10, และ20 ของทุกเดือน

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ?

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

  1. ค่านายหน้า คือ ค่าคอม(Commission) ที่ทางบริษัททำการจ่ายให้กับตัวแทน จะถูกหัก 3% ของค่านายหน้า เพื่อทำการยื่นภาษีประจำเดือน
  2. ค่าเบี้ยประกันภัย คือ ค่าเบี้ยประกันที่ลูกค้าหรือผู้เอาประกันมีสถานะเป็น “นิติบุคคล” ทำการหัก 1% ของค่าเบี้ยประกันภัยจากบริษัท ประกันภัยเรียกเก็บเงินจากผู้เอาประกัน กรณีนี้ต้องมีการออกหนังรับรองหัก ณ ที่จ่ายแนบให้บริษัททวีทรัพท์ด้วยทุกครั้ง ตัวอย่างหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ตามรูปด้านล่าง
https://info.tvinsure.com/wp-content/uploads/2020/12/WHT-PAPER.png